จากกระบวนการเรียนรู้จากภายนอก และการวิเคราะห์จากภายใน พบว่า ทุกหมู่บ้านมีการออมทรัพย์ กลุ่มอาชีพทุกกลุ่มมีการออมทรัพย์ แต่ทุกกลุ่มล้วนออมเพื่อกู้ หรือเพื่อไปขอกู้จากสถาบันการเงินภายนอก
เมื่อเปรียบเทียมสมัยเรายังเด็ก มีเพียงกลุ่มออมทรัพย์ที่มีเป้าหมายสร้างทุนในชุมชน สร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนของคนจนคนเขียนหนังสือไม่เก่ง โดยมีขั้นตอนและกติกาไม่มากนัก ในสมัยนั้นใครเป็นหนี้ ถือว่าเป็นเรื่องน่าอาย ไม่กล้าเปิดเผย แต่พอรู้ว่าคนในชุมชนประมาณครึ่งหนึ่ง ไม่เป็นหนี้เลย
ต่อมาเข้าช่วงยุคกองทุนหมู่บ้าน (เงินล้าน) ก็สังเกตุเห็นพบว่า ทุกครอบเป็นหนี้ (ตามนโยบายรัฐที่หยิบยื่นให้) ในหมู่บ้าน ตำบลเรา มีกลุ่มกองทุนเต็มไปหมด แต่ทำไมเรายังยากจน เป็นหนี้ ไม่มีเงินออม ไม่ที่สวัสดิการที่เท่าเทียมกัน
นอกจากนี้กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลดอนศิลา ยังมีการเชื่อมโยงกลุ่มออมทรัพย์ที่มีอยู่เดิม กลุ่มการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดสวัสดิการทั้งที่เป็นตัวเงินและบนฐานทรัพยากรที่มีอยู่ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานท้องถิ่น ให้ดีขึ้น ทั้งในเรื่องการลดภาระหนี้สิน ภาคครัวเรือนด้วย ไม่ใช่ก่อหนี้ หรือ สนับสนุนการหมุนเวียนหนี้ให้กับชาวบ้านเรื่อยไป มีเงินพอออม และช่วยเหลือกันยามจำเป็น
การดำเนินงานของกองทุนจึงมีการขยายแนวคิดแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่หวังปริมาณแต่เน้นความเข้าใจของทุกคนที่เข้ามาเป็นสมาชิกมากกว่า ประกอบกับการบริหารจัดการเงินทุนของกองทุนให้เติบโต โดยการนำเงินฝากธนาคารบางส่วน มาฝากที่กลุ่มออมทรัพย์ของหมู่บ้าน ทำให้มีเงินทุนหมุนเวียนในชุมชนอีกทางหนึ่ง และกองทุนก็ได้รับเงินปันผลจากเงินฝาก ร้อยละ ๘ บาทต่อปี ซึ่งนำมาหักลบกลบหนี้กับค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายสวัสดิการให้กับสมาชิกนั้น ยังคงมีเงินเหลืออีกจำนวนหนึ่ง ที่จะไม่ทำให้กองทุนต้องนำเงินออมที่มีอยู่ออกมาจ่ายเป็นสวัสดิการ ถือว่าเป็นการดำเนินงานอีกมิติหนึ่งที่ไม่สร้างภาระเพิ่มให้กับสมาชิกและกองทุน
อย่างไรก็ตามกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นตำบลดอนศิลา ยังคงต้องพัฒนาการดำเนินงาน แนวคิดในการจัดการสวัสดิการชุมชนต่อไป เพื่อให้สมาชิกได้ประโยชน์สูงสุด และหาแนวทางลดความเสี่ยงให้มากที่สุด พร้อม ๆ ไปกับการขยายสมาชิกให้เพิ่มขึ้นตามลำดับต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น