ยินดีต้อนรับเข้าสู่สภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลา สภาประชาชนโดยมีกฎหมายรองรับ ตาม พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.๒๕๕๑

วันพุธที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เชียงรายมหานคร จังหวัดจัดการตนเอง


คำว่า "จัดการตนเอง"  เิป็นวาทะหนึ่งของกระแสสังคมในปัจจุบัน  ทำให้มีความเข้าใจแตกต่างกันไป   บ้างก็ว่า  เป็นการแบ่งแยกดินแดน  เป็นรัฐอิสระเพื่อปกครองตนเอง  และเป็นกระบวนการขับเคลื่อนที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่

คำตอบ ก็คือ เป็นการขับเคลื่อนภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐  ตามมาตรา ๒๘๑ มาตรา ๗๘(๓) มาตรา ๑๖๓  เป็นกระบวนการขับเคลื่อนเพื่อเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารประเทศ ให้มีการกระจายอำนาจอย่างแท้จริง  จึงเป็นกระบวนการที่ต้องการความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนเชียงรายทุกคน  ทุกภาคส่วน   เข้ามาร่วมกัน
มีเป้าหมาย เพื่อ
๑) ตั้งปณิฐานที่จะพึ่งตนเอง
๒) มีความรักเชียงรายเป็นพื้นฐาน
๓) มีความภาคภูมิใจในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมล้านนา
๔) ร่วมขับเคลื่อนโดยพลังภาคพลเมือง
๕) เคารพในความหลากหลายทางความคิดและชาติพันธุ์

จังหวัดเชียงราย  จึงเป็นจังหวัดหนึ่ง ใน ๔๕ จังหวัดของประเทศไทย  ที่มีการรวมตัวกันของหน่วยงาน  องค์กร  เครือข่ายฯ  ทั้งเสื้อเหลือง  เสื้อแดง อาทิเช่น  สภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย เครือข่ายสภาองค์กรชุมชน จังหวัดเชียงราย เครือข่ายหมอเมือง  สมัชชาสุขภาพจังหวัดเชียงราย  มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย  สื่อมวลชน  วิทยาลัยนานาชาติลุ่มน้ำโยง  สมาคมพัฒนาประชากร PDA  มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง  สมาคมสร้างสรรค์ชีวิตและสิ่งแวดล้อม   กศน.อำเภอเทิง    เครือข่ายปฏิรูปที่ดินจังหวัดเชียงราย   โรงเรียนวิรุณบริหารธุรกิจ  ศูนย์พัฒนาศักยภาพบุคคลเชียงราย  ศูนย์ประสานงานภาคประชาสังคม  สภาพัฒนาการเมือง  สำนักข่าวพลเมืองอภิวัฒน์  มูลนิธิพัฒนาชุมชนในเขตภูเขา  เครือข่ายผู้เสียโอกาศกลุ่มชา่ติพันธุ์  คณะกรรมการสมัชชาปฏิรูปและคนจนเมือง ฯลฯ   ทุกกลุ่ม เครือข่าย  องค์กร ต่าง ๆ  ล้วนแต่มีความห่วงใยความขัดแย้งทางการเมืองที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อจังหวัดเชียงราย
ซึ่งเดิมประวัติศาสตร์เมืองเจียงฮาย  ถือว่าเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยมาช้านาน  ตามตำนาน "เวียงปึกษา"

จากการขับเคลื่อนมาเกือบปี  เชียงรายมหานคร จังหวัดจัดการตนเอง  มีิทิศทางแผนงานร่วมกัน "สภาคนฮักเจียงฮาย) ดังต่อไปนี้
๑) จัดประชุมคณะทำงานที่มาจากองค์กรต่าง ๆ  ทุกเดือน
๒) จัดเวทีแลกเปลี่ยนสถานการณ์  ประเมินการขับเคลื่อน
๓) ศึกษาข้อมูลศักยภาพ ภาพรวม/วิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูล
๔) ยกร่าง พรบ. การบริหารราชการท้องถิ่นจังหวัดเชียงราย
๕) ประสาน ภาคีเครือข่าย หน่วยงานทุกภาคส่วน
๖)  พัฒนาสื่อประชาสัมพันธุ์
๗)  พัฒนาพื้นที่รูปธรรมนำการเปลี่ยนแปลง

อย่างไรก็ตาม  สภาคนฮักเจียงฮาย หรือเชียงรายมหานคร  จังหวัดจัดการตนเอง  เป็นเพียงจุดเริ่มต้น  จะสามารถขับเคลื่อนให้เป็นจริงได้หรือไม่  คงขึ้นอยู่กับคนเชียงรายทุกคนที่จะเข้ามาร่วมกันขับเคลื่อนต่อไป

วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การจัดการที่ดินรูปแบบใหม่ กรณีที่สาธารณะประโยชน์บ้านสมานมิตร จังหวัดเชียงราย

  สถานการณ์ในตำบลดอนศิลา  ณ ปัจจุบัน พบว่า  มีการกว้านซื้อที่ดินอย่างต่อเนื่อง  อาจมีปัจจัยมาจากหลายสาเหตุ  เช่น  เกษตรกรเป็นหนี้   ทำให้ต้องขายดินที่ดินออกไป (ทำให้ที่ดินหลุดมือจากชาวนา)  โครงการพัฒนาของรัฐก็เป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นการขายที่ดิน  คือ  เมื่อที่ใดมีการพัฒนาที่ใด ที่ดินในพื้นที่ นั้น ๆ  จะมีราคาสูงตามไปด้วย ซึ่งโครงการก่อสร้างถนนสายเศรษฐกิจ R3A จะพาดผ่านเขตตำบลดอนศิลาด้วย  ทำให้ที่ดิน(ที่นา)  จากราคาไร่ละ ๓๐,๐๐๐-๘๐,๐๐๐ บาท จากปีก่อน  ได้ถีบตัวสูงขึ้นถึง ไร่ละ ๒๐๐,๐๐๐-๓๐๐,๐๐๐ บาท
            บ้านสมานมิตร ก็ เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ประสบปัญหาขาดปัจจัยที่สำคัญในการทำมาหากิน  "ที่ดิน"  ถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่งชาวบ้าน  โดยเฉพาะเกษตรกรที่เป็นกระดูกสันหลังของชาติ   จากข้อมูลงานวิจัยชุมชนของสภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลาจากการเก็บข้อมูลเรื่อง ข้าว  ซึ่งตรงกับข้อมูลของชาวบ้านสมานมิตร  ที่ประชากรในหมู่บ้านถึง ๘๐%  ทำนาเช่า   ๑๕ %  มีที่ดินเป็นของตนเอง  แต่ไม่พอกิน  และอีก

ชาวบ้านหลายคนเอ่ยเป็นเสียวเดียวกันว่า  ตั้งแต่ยุคนายกรัฐมนตรีชาติชายชุณหวัณ  มาแล้วที่มีการกว้านซื้อที่ดิน   ปัจจุบันน้อยคนนักที่จะมีที่ดินเป็นของตนเอง  ที่ดินที่มีอยู่ก็เป็นของนายทุนทั้งนั้น  ปัญหายังไม่หมดแค่นี้   แกนนำคนหนึ่งให้ข้อมูลว่า  ชาวบ้าน(ชาวนา) ด้วยกันเองก็มีการแย่งการทำนาด้วยกันเอง  โดยการเสนอค่าเช่านาให้กับนายทุนในราคาที่สูงขึ้น  เพื่อหวังว่าเจ้าของนาจะยกนาให้ตนเองเช่า

จากประสบการณ์การบีิบคั้นทางเศรษฐกิจ  จึงมีชาวบ้านบ้านสมานมิตรรวมตัวกัน ๘๐ ครอบครัว ที่ได้ร่วมกันปกป้องพื้นที่สาธารณะประโยชน์  ให้เป็นพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันจากกลุ่มนายทุนสำเร็จ  ต่อมาจึงได้ยกระดับให้มีการใช้ประโยชน์ร่วมและให้มีการบริหารจัดการที่ดินโดยชุมชน  ในรูปแบบ "โฉนดชุมชน"  ตั้งแต่รัฐบาลชุดที่ผ่านมา  โดยมีคณะทำงานของชุมชน ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ  ในการพัฒนาระบบข้อมูล  พัฒนาแกนนำ   พัฒนาพื้นที่การใช้ประโยชน์ร่วม "หน้าหมู่"   โดยไม่ยอมให้กลุ่มนายเอกชน หรือปัจเจกชน เข้าไปใช้ประโยชน์เพียงลำพัง   และพร้อมที่จะปกป้องรักษาที่ดินไว้ให้หลวงสืบไป

"โฉนดชุมชน"   ดำเินินการโดยองค์กรชุมชน  โดยขออนุญาติการใช้ประโยชน์จาก สำนักโฉนดชุมชน สำนักนายกรัฐมนตรี  มีคณะกรรมการประสานงานว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.)  เป็นผู้ลงพื้นที่สำรวจตรวจสอบ   และเห็นควรให้ชุมชนใดที่มีความเข้มแข็ง  และสามารถบริหารจัดการที่ดินโดยชุมชนได้  จะออกใบรับรองให้   ถึงแม้ว่าชุมชนใดจะผ่านการรับรองแล้ว  แม่ไม่สามารถดูแลบริหาร
จัดการที่ดินได้และปล่อยให้ที่ดินทิ้งร้าง  หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน พ.ศ ๒๕๕๓ ได้   ก็จะมีการเพิกถอนสิทธิ์ต่อไป
 
    ชุมชนบ้านสมานมิตร  จึงเป็นชุมชนหนึ่งจัดอยู่ในพื้นที่นำร่อง ๑๘ แห่งของภาคเหนือ ๒ แห่งของจังหวัดเชียงราย  โดยมีกระบวนการทำงานต่อเนื่องยาวนาน  โดยมีแผนงานการจัดการที่ดินและทรัพยากร  แผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน  แผนงานด้านสวัสดิการที่ไม่ใช่ตัวเงินหรือใช้เงินเป็นตัวเชื่อมโยงคนในชุมชน  และแผนการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ทุกมิติ   พร้อมกับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะอย่างต่อเนื่อง 
     
     ถึงแม้ว่ารัฐบาลชุดปัจจุบัน  จะมีการบรรจุนโยบายของรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์  ชินวัตร  ตามความใน ข้อ 5. นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และใน ข้อ5.1 อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า  โดยเร่งให้มีการปลูกป่าเพิ่มขึ้นควบคู่ไปกรับการป้องกันการลักลอบบุกรุกทำลายป่าไม้และสัตว์ป่า เร่งสำรวจและจัดทำแนวเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน ส่งเสริมการบริหารจัดการป่าแบบกลุ่มป่า ป่าชุมชน อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สนับสนุนการจัดการอย่างมีส่วนร่วม  และให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันในลักษณะที่ทำให้คนมีภารกิจดูแลป่าให้มีความยั่งยืน โดยการปรับปรุงกฎหมายป่าไม้ 5 ฉบับให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ สร้างแรงจูงใจและส่งเสริมรายได้จากการอนุรักษ์ป่าไม้ ฟื้นฟูป่าไม้ตามแนวทางพระราชดำริ เพิ่มความชุ่มชื้นของป่าโดยฝายต้นน้ำลำธาร ป้องกันไฟป่า ส่งเสริมการอนุรักษ์ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพจากป่าและแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม รวมทั้งนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการจัดการทรัพยากรป่าไม้    และ  5.4 สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ โดยการปฏิรูปการจัดการที่ดินโดยให้มีการกระจายสิทธิที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน โดยใช้มาตรการทางภาษีและจัดตั้งธนาคารที่ดินให้แก่คนจนและเกษตรกรรายย่อย พิจารณาให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ที่ดินทิ้งร้างทางราชการ    ปกป้องที่สาธารณประโยชน์ ที่ดินทุ่งเลี้ยงสัตว์ ห้ามการปิดกั้นชายหาดสาธารณะสาธารณะ ผลักดันกฎหมายในการรับรองสิทธิของชุมชนในการจัดการทรัพยากร ที่ดิน น้ำ ป่าไม้และทะเล ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งงแวดล้อม แก้ไขปัญหาการดำเนินคดีโลกร้อนกับคนจน  แล้วก็ตาม  ชุมชนคงยงยืนยันและพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินร่วมกับเกษตรกรไทยทั่วประเทศต่อไป

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

สภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลายกระดับแผนพัฒนาระดับตำบล

"ใน ตำบลดอนศิลา วันนี้การเมืองภาคประชาชนเริ่มเติบโต ไม่มีการเมืองแบบไหนที่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังเหมือนสภาองค์กร ชุมชน และเป็นการเมืองที่กินได้ เพราะสิ่งที่ทำเป็นเรื่องของชาวบ้าน เกี่ยวกับปากท้องของครอบครัวของคนในชุมชน.."

          สภาองค์กรชุมชนตำบลก่อกำเนิดตามพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 ที่ประกาศใช้เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาในช่วงจังหวะที่ภาคประชาชนมี การตื่นตัวและต้องการสร้างความเข้มแข็ง การให้การยอมรับในขบวนการพัฒนาภาคประชาชนโดยวางเป้าหมายว่าในอนาคตภาค ประชาชนโดยวางเป้าหมายว่าในอนาคตประชาชนจะเป็นผู้นำแผนพัฒนาภาคประชาชน ก่อนส่งต่อไปยังหน่วยรัฐทั้งในระดับท้องถิ่น จังหวัด และระดับชาติ เพื่อร่วมเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

          นายวิรัตน์ พรมสอน สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลา อ.เวียงชัย จ.เชียงราย กล่าวว่า สภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลา เกิดขึ้นเพราะชุมชนท้องถิ่นพิสูจน์ได้แล้วว่า กลไกทางการเมืองในระดับยังไม่สามารถตอบสนองการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของชาวบ้านได้ดีเท่าที่ควรซึ่งไม่ใช่เพียงที่ตำบลดอนศิลาแห่งเดียวแต่แทบทุก ที่ทั่วประเทศก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน

          ชุมชนจึงได้มาคิดทบทวนใหม่ว่าเมื่อระบบการเมืองที่ชาวบ้านเลือกไป แล้วไม่สามารถช่วยเหลือชุมชนได้ ชุมชนจึงควรมีการเมืองอีกระบบหนึ่งที่เกิดโอกาสให้ชุมชนได้มาคุยกัน ที่เรียกว่า "สภาองค์กรชุมชน" ซึ่งเกิดจากการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ที่ต้องการเข้ามาร่วมคิดร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติการ กำหนดอนาคตของชุมชน และสิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะเป็นหัวใจการพัฒนาตามระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

          "ตำบลดอนศิลา เป็นอีกหนึ่งตำบลที่ต้องการแก้ปัญหาความยากจน และการพัฒนาด้านต่างๆ โดยกลุ่มองค์กรต่างๆ กว่า 20 กลุ่ม/องค์กร ที่มีอยู่ในตำบลดอนศิลา ซึ่งส่วนมากจะเป็นกลุ่มที่ตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้หลุดพ้นความยากจน จึงได้รวมตัวกันจดแจ้งจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลาขึ้นมา"

          จากกลุ่มองค์กรที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วทั้งตำบล เมื่อมารวมกันในนามสภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลา จึงได้ช่วยกันทำงานในประเด็นงานพัฒนาต่างๆ ที่ทำกันอยุ่แล้ว ให้มีการเชื่อมโยงอย่างมีพลังเกิดการบูรณาการงานอย่างมีเป้าหมายร่วมกันซึ่ง ก็คือการส่งเสริมให้ชุมชนซึ่งเป็นสังคมฐานรากเกิดความเข้มแข็ง สามารถจัดการตัวเองได้อย่างยั่งยืน มีบทบาทสำคัญในการเป็นหุ่นส่วนในการพัฒนาท้องถิ่นตามความหลากหลายของวิถี ชีวิต วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น และนำไปสู่การยกระดับการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง

          "ในตำบลดอนศิลา วันนี้การเมืองภาคประชาชนเริ่มเติบโต ไม่มีการเมืองแบบไหนที่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังเหมือนสภาองค์กร ชุมชน และเป็นการเมืองที่กินได้ เพราะสิ่งทนี่ทำเป็นเรื่องของชาวบ้านเกี่ยวกับปากท้องของครอบครัวของคนใน ชุมชน เช่น เรื่องผลผลิตทางการเกษตร ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ปาล์ม เรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ฯลฯ สภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลา จะช่วยกันคิดและทำให้เกิดผล ต้องทำให้เห็นว่าพวกเราสามารถแก้ไขปัญหา พึ่งตนเองได้ไม่ได้คิดไปถึงความเติบโตทางเศรษฐกิจแต่พอเพียงมีรายได้ อยู่ในชุมชนได้ ลูกๆ ได้เรียนหนังสือ ไม่เดือดร้อนมากนักก็พอใจแล้ว"

          นายนิคม เสนาป่า ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลา กล่าวว่า สภาองค์กรชุมชนเป็นเรื่องใหม่ แต่จะเป็นเรื่องใหม่ที่ส่ผลดีต่อพี่น้องในชุมชน เพราะจะนำไปสู่การกำหนดทิศทางอนาคตของชุมชนโดยชาวชุมชนเอง และยังยกระดับการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และหัวใจของสภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลาคือต้องบรรจุแผนการพัฒนาของชุมชนไปสู่ แผนงานขององค์กรปกครองท้องถิ่นให้ได้

          "แผนพัฒนาของสภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลา จึงให้ความสำคัญกับเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร ความมั่นคงด้านพลังงานทางเลือก ความมั่นคงทางด้านสิ่งแวดล้อม และมีสวัสดิการชุมชนเกิดขึ้นซึ่งเพียง 4 ประเด็นนี้จะเป็นตัวบอกว่าทิศทางการแก้ปัญหาและการพัฒนาของชาวตำบลดอนศิลาจะ ต้องไม่เดินไปข้างหน้าโดยพลังของกลุ่มองค์กรชุมชนและสมาชิกทั้งหมด"

          สภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลาเกิดขึ้นแล้ว และในขณะนี้กลุ่มองค์กรต่างๆ ที่เป็นสมาชิกของสภา กำลังเดินหน้าปฏิบัติการในประเด็นงานพัฒนาต่างๆ ที่ทำกันอยุ่แล้วให้เกิดคุณภาพมากขึ้นและเชื่อมโยงงานพัฒนาเพื่อให้เกิดพลัง ในการเปลี่ยนแปลงอีกทั้งยังเชื่อมประสานสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานรัฐในพื้นที่และภาคีพัฒนา เพื่อร่วมกันกำหนดอนาคตของชุมชนในตำบล โดยเชื่อมั่นว่าความต้องการภาคประชาชนจะเป็นหนึ่งในแผนงานสำคัญขององค์กร ปกครองท้องถิ่นในพื้นที่ ซึ่งก็คือทิศทางใหม่ของการพัฒนาประเทศ และเป็นประชาธิปไตยฐานรากที่จับต้องได้ เป็นประชาธิปไตยกินได้อย่างที่ชุมชนต้องการ

          ความเชื่อมั่นและศรัทธาในศักยภาพของภาคประชาชนตำบลดอนศิลา จะก้าวเดินไปท่ามกลางการเรียนรู้และการแก้ไขปัญหาด้วยชุมชนเอง โดยมีสภาองค์กรชุมชนตำบลศิลาเป็นเครื่องมือสำคัญ
ประพันธ์ สีดำ
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)
มติชน ฉบับวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
Share

ข้อมูลทั่วไป : สภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลา

ตำบลดอนศิลาเป็นที่ราบเชิงเขามีความอุดมสมบรูณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก  พื้นที่บางส่วนอยู่ในพื้นที่หนองหลวงเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัด โดยมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๖๓,๑๒๕ ไร่ และพื้นที่ป่าไม้และที่สาธารณะประมาณ ๒๐,๐๐๐  ไร่   คนส่วนใหญ่เป็นคนพื้นถิ่นดั้งเดิม และคนพื้นเมืองที่อพยพมาจากจังหวัดลำปาง  ลำพูน และพะเยา  ส่วนคนอีสานที่อพยพมาจากภาคอีสาน หลายจังหวัด ชนเผ่าลีซอ และ ปกาเกอญอ   ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์  มีจำนวนประชากร  ๓,๑๘๐ ครอบครัว  ๙,๙๗๔  คน  หญิง  ๔,๙๘๓ คน ชาย ๔,๙๙๑  คน     ประกอบอาชีพทำนาข้าวถึงร้อยละ 70 %  ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  มันสำปะหลัง  ยางพารา และไม้ผล   การถือครองที่ดินส่วนใหญ่มีที่ดินเป็นของตนเองร้อยละ ๗๐ เป็นโฉนด,   สปก.๔-๐๑  และไม่มีเอกสารสิทธิ์   เนื่องจากพื้นที่อยู่ในเขตป่าเสื่อมโทรม  ป่าสงวนและเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร (สปก.)   สภาพปัญหาในพื้นที่ได้แก่  ปัญหาหนี้สินเพิ่มมากขึ้น  ที่ดินหลุดมือโดยถูกยึดและขายให้กับนายทุนภายนอกชุมชน  มีการเช่าที่นาเพิ่มขึ้นทั้งในและนอกชุมชน 
ที่ผ่านมามีกระบวนกา) ตลอดจนเข้าร่วมเป็นสมาชิกกับเครือข่ายอื่น ๆ  เช่น  สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ  เครือข่ายเกรพัฒนาขององค์กรชุมชนตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๐   ประกอบกับการพัฒนาของกองทุนเพื่อสังคม (SIFษตรกรภาคเหนือ   เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย เครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคเหนือ ในประเด็นเรื่องการแก้ไขปัญหาที่ดิน และผลักดัน พ.ร.บ. ประกันสังคมสำหรับแรงงานนอกระบบ  และกองทุนชราภาพ
สภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลา จัดตั้งเมื่อวันที่   สิงหาคม 2551   โดยมีหมู่บ้านเข้าร่วมในการจัดตั้งสภาฯ จำนวน 4 หมู่บ้านจาก 17  หมู่บ้าน มีองค์กรชุมชนจำนวน  16  กลุ่ม  ประกอบด้วยกลุ่มอาชีพ  กลุ่มออมทรัพย์  กลุ่มผู้พิการ  กลุ่มทรัพยากรที่ดิน และกลุ่มสวัสดิการ มีสมาชิกสภาฯ และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน   ๓๒ คน สมาชิกรวมทั้งสิ้น  ๖๕๖ คน