ยินดีต้อนรับเข้าสู่สภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลา สภาประชาชนโดยมีกฎหมายรองรับ ตาม พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.๒๕๕๑

วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การจัดการที่ดินรูปแบบใหม่ กรณีที่สาธารณะประโยชน์บ้านสมานมิตร จังหวัดเชียงราย

  สถานการณ์ในตำบลดอนศิลา  ณ ปัจจุบัน พบว่า  มีการกว้านซื้อที่ดินอย่างต่อเนื่อง  อาจมีปัจจัยมาจากหลายสาเหตุ  เช่น  เกษตรกรเป็นหนี้   ทำให้ต้องขายดินที่ดินออกไป (ทำให้ที่ดินหลุดมือจากชาวนา)  โครงการพัฒนาของรัฐก็เป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นการขายที่ดิน  คือ  เมื่อที่ใดมีการพัฒนาที่ใด ที่ดินในพื้นที่ นั้น ๆ  จะมีราคาสูงตามไปด้วย ซึ่งโครงการก่อสร้างถนนสายเศรษฐกิจ R3A จะพาดผ่านเขตตำบลดอนศิลาด้วย  ทำให้ที่ดิน(ที่นา)  จากราคาไร่ละ ๓๐,๐๐๐-๘๐,๐๐๐ บาท จากปีก่อน  ได้ถีบตัวสูงขึ้นถึง ไร่ละ ๒๐๐,๐๐๐-๓๐๐,๐๐๐ บาท
            บ้านสมานมิตร ก็ เป็นหมู่บ้านหนึ่งที่ประสบปัญหาขาดปัจจัยที่สำคัญในการทำมาหากิน  "ที่ดิน"  ถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่งชาวบ้าน  โดยเฉพาะเกษตรกรที่เป็นกระดูกสันหลังของชาติ   จากข้อมูลงานวิจัยชุมชนของสภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลาจากการเก็บข้อมูลเรื่อง ข้าว  ซึ่งตรงกับข้อมูลของชาวบ้านสมานมิตร  ที่ประชากรในหมู่บ้านถึง ๘๐%  ทำนาเช่า   ๑๕ %  มีที่ดินเป็นของตนเอง  แต่ไม่พอกิน  และอีก

ชาวบ้านหลายคนเอ่ยเป็นเสียวเดียวกันว่า  ตั้งแต่ยุคนายกรัฐมนตรีชาติชายชุณหวัณ  มาแล้วที่มีการกว้านซื้อที่ดิน   ปัจจุบันน้อยคนนักที่จะมีที่ดินเป็นของตนเอง  ที่ดินที่มีอยู่ก็เป็นของนายทุนทั้งนั้น  ปัญหายังไม่หมดแค่นี้   แกนนำคนหนึ่งให้ข้อมูลว่า  ชาวบ้าน(ชาวนา) ด้วยกันเองก็มีการแย่งการทำนาด้วยกันเอง  โดยการเสนอค่าเช่านาให้กับนายทุนในราคาที่สูงขึ้น  เพื่อหวังว่าเจ้าของนาจะยกนาให้ตนเองเช่า

จากประสบการณ์การบีิบคั้นทางเศรษฐกิจ  จึงมีชาวบ้านบ้านสมานมิตรรวมตัวกัน ๘๐ ครอบครัว ที่ได้ร่วมกันปกป้องพื้นที่สาธารณะประโยชน์  ให้เป็นพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันจากกลุ่มนายทุนสำเร็จ  ต่อมาจึงได้ยกระดับให้มีการใช้ประโยชน์ร่วมและให้มีการบริหารจัดการที่ดินโดยชุมชน  ในรูปแบบ "โฉนดชุมชน"  ตั้งแต่รัฐบาลชุดที่ผ่านมา  โดยมีคณะทำงานของชุมชน ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ  ในการพัฒนาระบบข้อมูล  พัฒนาแกนนำ   พัฒนาพื้นที่การใช้ประโยชน์ร่วม "หน้าหมู่"   โดยไม่ยอมให้กลุ่มนายเอกชน หรือปัจเจกชน เข้าไปใช้ประโยชน์เพียงลำพัง   และพร้อมที่จะปกป้องรักษาที่ดินไว้ให้หลวงสืบไป

"โฉนดชุมชน"   ดำเินินการโดยองค์กรชุมชน  โดยขออนุญาติการใช้ประโยชน์จาก สำนักโฉนดชุมชน สำนักนายกรัฐมนตรี  มีคณะกรรมการประสานงานว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.)  เป็นผู้ลงพื้นที่สำรวจตรวจสอบ   และเห็นควรให้ชุมชนใดที่มีความเข้มแข็ง  และสามารถบริหารจัดการที่ดินโดยชุมชนได้  จะออกใบรับรองให้   ถึงแม้ว่าชุมชนใดจะผ่านการรับรองแล้ว  แม่ไม่สามารถดูแลบริหาร
จัดการที่ดินได้และปล่อยให้ที่ดินทิ้งร้าง  หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน พ.ศ ๒๕๕๓ ได้   ก็จะมีการเพิกถอนสิทธิ์ต่อไป
 
    ชุมชนบ้านสมานมิตร  จึงเป็นชุมชนหนึ่งจัดอยู่ในพื้นที่นำร่อง ๑๘ แห่งของภาคเหนือ ๒ แห่งของจังหวัดเชียงราย  โดยมีกระบวนการทำงานต่อเนื่องยาวนาน  โดยมีแผนงานการจัดการที่ดินและทรัพยากร  แผนงานการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน  แผนงานด้านสวัสดิการที่ไม่ใช่ตัวเงินหรือใช้เงินเป็นตัวเชื่อมโยงคนในชุมชน  และแผนการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ทุกมิติ   พร้อมกับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะอย่างต่อเนื่อง 
     
     ถึงแม้ว่ารัฐบาลชุดปัจจุบัน  จะมีการบรรจุนโยบายของรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์  ชินวัตร  ตามความใน ข้อ 5. นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และใน ข้อ5.1 อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า  โดยเร่งให้มีการปลูกป่าเพิ่มขึ้นควบคู่ไปกรับการป้องกันการลักลอบบุกรุกทำลายป่าไม้และสัตว์ป่า เร่งสำรวจและจัดทำแนวเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน ส่งเสริมการบริหารจัดการป่าแบบกลุ่มป่า ป่าชุมชน อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สนับสนุนการจัดการอย่างมีส่วนร่วม  และให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันในลักษณะที่ทำให้คนมีภารกิจดูแลป่าให้มีความยั่งยืน โดยการปรับปรุงกฎหมายป่าไม้ 5 ฉบับให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ สร้างแรงจูงใจและส่งเสริมรายได้จากการอนุรักษ์ป่าไม้ ฟื้นฟูป่าไม้ตามแนวทางพระราชดำริ เพิ่มความชุ่มชื้นของป่าโดยฝายต้นน้ำลำธาร ป้องกันไฟป่า ส่งเสริมการอนุรักษ์ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพจากป่าและแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม รวมทั้งนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการจัดการทรัพยากรป่าไม้    และ  5.4 สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ โดยการปฏิรูปการจัดการที่ดินโดยให้มีการกระจายสิทธิที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน โดยใช้มาตรการทางภาษีและจัดตั้งธนาคารที่ดินให้แก่คนจนและเกษตรกรรายย่อย พิจารณาให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ที่ดินทิ้งร้างทางราชการ    ปกป้องที่สาธารณประโยชน์ ที่ดินทุ่งเลี้ยงสัตว์ ห้ามการปิดกั้นชายหาดสาธารณะสาธารณะ ผลักดันกฎหมายในการรับรองสิทธิของชุมชนในการจัดการทรัพยากร ที่ดิน น้ำ ป่าไม้และทะเล ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งงแวดล้อม แก้ไขปัญหาการดำเนินคดีโลกร้อนกับคนจน  แล้วก็ตาม  ชุมชนคงยงยืนยันและพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินร่วมกับเกษตรกรไทยทั่วประเทศต่อไป