ยินดีต้อนรับเข้าสู่สภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลา สภาประชาชนโดยมีกฎหมายรองรับ ตาม พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.๒๕๕๑

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

สภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลายกระดับแผนพัฒนาระดับตำบล

"ใน ตำบลดอนศิลา วันนี้การเมืองภาคประชาชนเริ่มเติบโต ไม่มีการเมืองแบบไหนที่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังเหมือนสภาองค์กร ชุมชน และเป็นการเมืองที่กินได้ เพราะสิ่งที่ทำเป็นเรื่องของชาวบ้าน เกี่ยวกับปากท้องของครอบครัวของคนในชุมชน.."

          สภาองค์กรชุมชนตำบลก่อกำเนิดตามพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 ที่ประกาศใช้เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาในช่วงจังหวะที่ภาคประชาชนมี การตื่นตัวและต้องการสร้างความเข้มแข็ง การให้การยอมรับในขบวนการพัฒนาภาคประชาชนโดยวางเป้าหมายว่าในอนาคตภาค ประชาชนโดยวางเป้าหมายว่าในอนาคตประชาชนจะเป็นผู้นำแผนพัฒนาภาคประชาชน ก่อนส่งต่อไปยังหน่วยรัฐทั้งในระดับท้องถิ่น จังหวัด และระดับชาติ เพื่อร่วมเป็นหุ้นส่วนการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

          นายวิรัตน์ พรมสอน สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลา อ.เวียงชัย จ.เชียงราย กล่าวว่า สภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลา เกิดขึ้นเพราะชุมชนท้องถิ่นพิสูจน์ได้แล้วว่า กลไกทางการเมืองในระดับยังไม่สามารถตอบสนองการแก้ไขปัญหาต่างๆ ของชาวบ้านได้ดีเท่าที่ควรซึ่งไม่ใช่เพียงที่ตำบลดอนศิลาแห่งเดียวแต่แทบทุก ที่ทั่วประเทศก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน

          ชุมชนจึงได้มาคิดทบทวนใหม่ว่าเมื่อระบบการเมืองที่ชาวบ้านเลือกไป แล้วไม่สามารถช่วยเหลือชุมชนได้ ชุมชนจึงควรมีการเมืองอีกระบบหนึ่งที่เกิดโอกาสให้ชุมชนได้มาคุยกัน ที่เรียกว่า "สภาองค์กรชุมชน" ซึ่งเกิดจากการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ที่ต้องการเข้ามาร่วมคิดร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติการ กำหนดอนาคตของชุมชน และสิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะเป็นหัวใจการพัฒนาตามระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง

          "ตำบลดอนศิลา เป็นอีกหนึ่งตำบลที่ต้องการแก้ปัญหาความยากจน และการพัฒนาด้านต่างๆ โดยกลุ่มองค์กรต่างๆ กว่า 20 กลุ่ม/องค์กร ที่มีอยู่ในตำบลดอนศิลา ซึ่งส่วนมากจะเป็นกลุ่มที่ตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้หลุดพ้นความยากจน จึงได้รวมตัวกันจดแจ้งจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลาขึ้นมา"

          จากกลุ่มองค์กรที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วทั้งตำบล เมื่อมารวมกันในนามสภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลา จึงได้ช่วยกันทำงานในประเด็นงานพัฒนาต่างๆ ที่ทำกันอยุ่แล้ว ให้มีการเชื่อมโยงอย่างมีพลังเกิดการบูรณาการงานอย่างมีเป้าหมายร่วมกันซึ่ง ก็คือการส่งเสริมให้ชุมชนซึ่งเป็นสังคมฐานรากเกิดความเข้มแข็ง สามารถจัดการตัวเองได้อย่างยั่งยืน มีบทบาทสำคัญในการเป็นหุ่นส่วนในการพัฒนาท้องถิ่นตามความหลากหลายของวิถี ชีวิต วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น และนำไปสู่การยกระดับการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง

          "ในตำบลดอนศิลา วันนี้การเมืองภาคประชาชนเริ่มเติบโต ไม่มีการเมืองแบบไหนที่ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังเหมือนสภาองค์กร ชุมชน และเป็นการเมืองที่กินได้ เพราะสิ่งทนี่ทำเป็นเรื่องของชาวบ้านเกี่ยวกับปากท้องของครอบครัวของคนใน ชุมชน เช่น เรื่องผลผลิตทางการเกษตร ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ปาล์ม เรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ ฯลฯ สภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลา จะช่วยกันคิดและทำให้เกิดผล ต้องทำให้เห็นว่าพวกเราสามารถแก้ไขปัญหา พึ่งตนเองได้ไม่ได้คิดไปถึงความเติบโตทางเศรษฐกิจแต่พอเพียงมีรายได้ อยู่ในชุมชนได้ ลูกๆ ได้เรียนหนังสือ ไม่เดือดร้อนมากนักก็พอใจแล้ว"

          นายนิคม เสนาป่า ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลา กล่าวว่า สภาองค์กรชุมชนเป็นเรื่องใหม่ แต่จะเป็นเรื่องใหม่ที่ส่ผลดีต่อพี่น้องในชุมชน เพราะจะนำไปสู่การกำหนดทิศทางอนาคตของชุมชนโดยชาวชุมชนเอง และยังยกระดับการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และหัวใจของสภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลาคือต้องบรรจุแผนการพัฒนาของชุมชนไปสู่ แผนงานขององค์กรปกครองท้องถิ่นให้ได้

          "แผนพัฒนาของสภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลา จึงให้ความสำคัญกับเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร ความมั่นคงด้านพลังงานทางเลือก ความมั่นคงทางด้านสิ่งแวดล้อม และมีสวัสดิการชุมชนเกิดขึ้นซึ่งเพียง 4 ประเด็นนี้จะเป็นตัวบอกว่าทิศทางการแก้ปัญหาและการพัฒนาของชาวตำบลดอนศิลาจะ ต้องไม่เดินไปข้างหน้าโดยพลังของกลุ่มองค์กรชุมชนและสมาชิกทั้งหมด"

          สภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลาเกิดขึ้นแล้ว และในขณะนี้กลุ่มองค์กรต่างๆ ที่เป็นสมาชิกของสภา กำลังเดินหน้าปฏิบัติการในประเด็นงานพัฒนาต่างๆ ที่ทำกันอยุ่แล้วให้เกิดคุณภาพมากขึ้นและเชื่อมโยงงานพัฒนาเพื่อให้เกิดพลัง ในการเปลี่ยนแปลงอีกทั้งยังเชื่อมประสานสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานรัฐในพื้นที่และภาคีพัฒนา เพื่อร่วมกันกำหนดอนาคตของชุมชนในตำบล โดยเชื่อมั่นว่าความต้องการภาคประชาชนจะเป็นหนึ่งในแผนงานสำคัญขององค์กร ปกครองท้องถิ่นในพื้นที่ ซึ่งก็คือทิศทางใหม่ของการพัฒนาประเทศ และเป็นประชาธิปไตยฐานรากที่จับต้องได้ เป็นประชาธิปไตยกินได้อย่างที่ชุมชนต้องการ

          ความเชื่อมั่นและศรัทธาในศักยภาพของภาคประชาชนตำบลดอนศิลา จะก้าวเดินไปท่ามกลางการเรียนรู้และการแก้ไขปัญหาด้วยชุมชนเอง โดยมีสภาองค์กรชุมชนตำบลศิลาเป็นเครื่องมือสำคัญ
ประพันธ์ สีดำ
สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)
มติชน ฉบับวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
Share

ข้อมูลทั่วไป : สภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลา

ตำบลดอนศิลาเป็นที่ราบเชิงเขามีความอุดมสมบรูณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก  พื้นที่บางส่วนอยู่ในพื้นที่หนองหลวงเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่ใหญ่ที่สุดของจังหวัด โดยมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๖๓,๑๒๕ ไร่ และพื้นที่ป่าไม้และที่สาธารณะประมาณ ๒๐,๐๐๐  ไร่   คนส่วนใหญ่เป็นคนพื้นถิ่นดั้งเดิม และคนพื้นเมืองที่อพยพมาจากจังหวัดลำปาง  ลำพูน และพะเยา  ส่วนคนอีสานที่อพยพมาจากภาคอีสาน หลายจังหวัด ชนเผ่าลีซอ และ ปกาเกอญอ   ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธและศาสนาคริสต์  มีจำนวนประชากร  ๓,๑๘๐ ครอบครัว  ๙,๙๗๔  คน  หญิง  ๔,๙๘๓ คน ชาย ๔,๙๙๑  คน     ประกอบอาชีพทำนาข้าวถึงร้อยละ 70 %  ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  มันสำปะหลัง  ยางพารา และไม้ผล   การถือครองที่ดินส่วนใหญ่มีที่ดินเป็นของตนเองร้อยละ ๗๐ เป็นโฉนด,   สปก.๔-๐๑  และไม่มีเอกสารสิทธิ์   เนื่องจากพื้นที่อยู่ในเขตป่าเสื่อมโทรม  ป่าสงวนและเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร (สปก.)   สภาพปัญหาในพื้นที่ได้แก่  ปัญหาหนี้สินเพิ่มมากขึ้น  ที่ดินหลุดมือโดยถูกยึดและขายให้กับนายทุนภายนอกชุมชน  มีการเช่าที่นาเพิ่มขึ้นทั้งในและนอกชุมชน 
ที่ผ่านมามีกระบวนกา) ตลอดจนเข้าร่วมเป็นสมาชิกกับเครือข่ายอื่น ๆ  เช่น  สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ  เครือข่ายเกรพัฒนาขององค์กรชุมชนตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๔๐   ประกอบกับการพัฒนาของกองทุนเพื่อสังคม (SIFษตรกรภาคเหนือ   เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย เครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคเหนือ ในประเด็นเรื่องการแก้ไขปัญหาที่ดิน และผลักดัน พ.ร.บ. ประกันสังคมสำหรับแรงงานนอกระบบ  และกองทุนชราภาพ
สภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลา จัดตั้งเมื่อวันที่   สิงหาคม 2551   โดยมีหมู่บ้านเข้าร่วมในการจัดตั้งสภาฯ จำนวน 4 หมู่บ้านจาก 17  หมู่บ้าน มีองค์กรชุมชนจำนวน  16  กลุ่ม  ประกอบด้วยกลุ่มอาชีพ  กลุ่มออมทรัพย์  กลุ่มผู้พิการ  กลุ่มทรัพยากรที่ดิน และกลุ่มสวัสดิการ มีสมาชิกสภาฯ และผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน   ๓๒ คน สมาชิกรวมทั้งสิ้น  ๖๕๖ คน