ยินดีต้อนรับเข้าสู่สภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลา สภาประชาชนโดยมีกฎหมายรองรับ ตาม พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน พ.ศ.๒๕๕๑

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

สภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลา ขยายผลการพัฒนาเว็บไซต์ตำบล

   

สภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลา  ได้พัฒนาการแกนนำด้านการจัดการข้อมูลเพื่อการสื่อสารนั้น   จนมีความสามารถพัฒนาฝีมือและถ่ายทอดความรู้ให้ผู้นำสภาองค์กรชุมชนตำบลอื่น ๆ  ได้  

เครือข่ายสภาองค์กรชุมชน จังหวัดเชียงรายจึงสนับสนุนงบประมาณบางส่วนเป็นค่าอาหาร  สำหรับผู้นำที่สนใจพัฒนาเว็บไซต์ตำบลของตนเอง จึงจัดฝึกอบรมจัดฝึกอบรมพัฒนา Webmaster ตำบลขึ้นเป็นครั้งที่ ๒  เพื่อพัฒนาระบบการสื่อสารกันทั้งภายในและสู่สาธารณะ โดยมีเป้าหมายร่วมกัน คือ การสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างตำบลและภายในระดับจังหวัด โดยไม่ต้องรอการประชุมเครือข่ายฯ ระดับจังหวัด และเพื่อให้แก่การทำงานร่วมกัน  ในวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๕ ณ ศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค จังหวัดเชียงราย ที่เอื้ออำนวยสถานที่ฝึกอบรม

วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555

สวัสดิการชุมชนตำบลดอนศิลา

การ จัดการสวัสดิการชุมชนตำบลดอนศิลา เริ่มขึ้นการจากแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายแรงงานนอกระบบภาคเหนือ  ที่เคยผลักดันการจัดสวัสดิการสังคมให้กับผู้ใช้แรงงานนอกระบบ  จนเติบโตมาเป็นประกันสังคม มาตรา ๔๐ และมีการประกาศใช้ เมื่อไม่นานมานี้   

จากกระบวนการเรียนรู้จากภายนอก  และการวิเคราะห์จากภายใน  พบว่า  ทุกหมู่บ้านมีการออมทรัพย์  กลุ่มอาชีพทุกกลุ่มมีการออมทรัพย์     แต่ทุกกลุ่มล้วนออมเพื่อกู้   หรือเพื่อไปขอกู้จากสถาบันการเงินภายนอก

เมื่อเปรียบเทียมสมัยเรายังเด็ก  มีเพียงกลุ่มออมทรัพย์ที่มีเป้าหมายสร้างทุนในชุมชน  สร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนของคนจนคนเขียนหนังสือไม่เก่ง  โดยมีขั้นตอนและกติกาไม่มากนัก   ในสมัยนั้นใครเป็นหนี้ ถือว่าเป็นเรื่องน่าอาย  ไม่กล้าเปิดเผย  แต่พอรู้ว่าคนในชุมชนประมาณครึ่งหนึ่ง  ไม่เป็นหนี้เลย   
 ต่อมาเข้าช่วงยุคกองทุนหมู่บ้าน (เงินล้าน)  ก็สังเกตุเห็นพบว่า  ทุกครอบเป็นหนี้ (ตามนโยบายรัฐที่หยิบยื่นให้)   ในหมู่บ้าน ตำบลเรา  มีกลุ่มกองทุนเต็มไปหมด  แต่ทำไมเรายังยากจน  เป็นหนี้  ไม่มีเงินออม  ไม่ที่สวัสดิการที่เท่าเทียมกัน   
  
เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๔๙  จึงได้มีการแลกเปลี่ยนกับคณะทำงานขับเคลื่อนกองทุนสวัสดิการชุมชน จังหวัดเชียงราย  รู้จักกันดีในนาม "ป้าน้อง"  อำไพวรรณ  ปัญญาชัย  และแกนนำตำบลอื่น ๆ  ที่ได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้  กลุ่มผลิตภัณฑ์ทำมือบ้านจงเจริญ  จึงได้ประชุมกลุ่มสมาชิกปรับเงินออมเพื่อกู้  เป็นการออมเพื่อสวัสดิการ  โดยเริ่มแรก  มีการออมเพียงเดือนละ ๑๐ บาท  และเพิ่ม เป็น ๒๐ บาท  และวันละบาทในที่สุด  และได้ได้ชักชวนกลุ่มอาชีพ  กลุ่มออมทรัพย์ต่าง ๆ  ในตำบล  ศึกษาและพัฒนากองทุนให้มีความเข็มแข้ง  มีคณะกรรมการ  มีกติกาในการบริหารจัดการกองทุน ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐   และได้รับการรับรองเป็นองค์กรสาธารณะประโยชน์เมื่อวันที่  ๒๓ กันยาย ๒๕๕๒


นอกจากนี้กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลดอนศิลา ยังมีการเชื่อมโยงกลุ่มออมทรัพย์ที่มีอยู่เดิม  กลุ่มการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดสวัสดิการทั้งที่เป็นตัวเงินและบนฐานทรัพยากรที่มีอยู่  โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานท้องถิ่น  ให้ดีขึ้น   ทั้งในเรื่องการลดภาระหนี้สิน ภาคครัวเรือนด้วย ไม่ใช่ก่อหนี้ หรือ สนับสนุนการหมุนเวียนหนี้ให้กับชาวบ้านเรื่อยไป  มีเงินพอออม  และช่วยเหลือกันยามจำเป็น   


การดำเนินงานของกองทุนจึงมีการขยายแนวคิดแบบค่อยเป็นค่อยไป  ไม่หวังปริมาณแต่เน้นความเข้าใจของทุกคนที่เข้ามาเป็นสมาชิกมากกว่า   ประกอบกับการบริหารจัดการเงินทุนของกองทุนให้เติบโต  โดยการนำเงินฝากธนาคารบางส่วน  มาฝากที่กลุ่มออมทรัพย์ของหมู่บ้าน ทำให้มีเงินทุนหมุนเวียนในชุมชนอีกทางหนึ่ง  และกองทุนก็ได้รับเงินปันผลจากเงินฝาก ร้อยละ ๘ บาทต่อปี   ซึ่งนำมาหักลบกลบหนี้กับค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายสวัสดิการให้กับสมาชิกนั้น   ยังคงมีเงินเหลืออีกจำนวนหนึ่ง  ที่จะไม่ทำให้กองทุนต้องนำเงินออมที่มีอยู่ออกมาจ่ายเป็นสวัสดิการ    ถือว่าเป็นการดำเนินงานอีกมิติหนึ่งที่ไม่สร้างภาระเพิ่มให้กับสมาชิกและกองทุน


อย่างไรก็ตามกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นตำบลดอนศิลา  ยังคงต้องพัฒนาการดำเนินงาน แนวคิดในการจัดการสวัสดิการชุมชนต่อไป  เพื่อให้สมาชิกได้ประโยชน์สูงสุด  และหาแนวทางลดความเสี่ยงให้มากที่สุด พร้อม ๆ  ไปกับการขยายสมาชิกให้เพิ่มขึ้นตามลำดับต่อไป

ผักพื้นบ้านอาหารพื้นเมือง การริเริ่มสู่การพึ่งตนเองของคนตำบลดอนศิลา


สมัยเด็กๆ จำได้คลับคล้ายคลับคลาว่าเคยกินผักพื้นบ้านนานาชนิด  ที่ปลูกไว้ริมรั้ว  ลานบ้าน สวนหลังบ้าน (คนเหนือเรียกว่า "สวนครัว") มีทั้งสะระแน  กระเพราะ ตระไคร้ ผักกาด  ผักชี ต้นหอม ผักชีฝรั่ง  ถั่ว  ดอกแค  มะรุม  เพกา  พริกไทย ดีปรี ฯลฯ    บางทีก็เก็บมาลวกกิน บางทีก็กินสดๆ หรือนำมาเป็นเครื่องปรุง...                     
แต่เมื่อมีการปลูกพืชตามระบบเคมีทำให้ผักพื้นบ้านหลายชนิดหายไป            
อย่างไรก็ตาม วิถีชุมชนในชนบท ก็ยังคงมีการปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคกันอยู่ ถึงไม่มากนัก  แต่ก็มีการพยามสืบทอด  แลกเปลี่ยนเมล็ดพันธู์พื้นเมืองที่เหลืออยู่น้อยเต็มที   ซึ่งชาวบ้านหลายคนไม่ชอบใจนักหากซื้อเมล็ดพันธุ์ของบริษัทเอกชนมาปลูกแล้ว  ไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกต่อได้   เป็นการขัดต่อวิถีปฏิบัติที่สืบทอดกันมา 

อาหารพื้นเมืองทางเหนือจะต้องมีส่วนปรุงรส หรือชูรสด้วยผักพื้นบ้านภาคเหนือ ซึ่งมีเอกลักษณ์ทางด้านถิ่นกำเนิด กลิ่นและรสที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ หายากเพราะมีผลผลิตออกมาตามฤดูกาล   นอกจากนั้นยังเป็นพืชผักที่ให้คุณค่าทางด้านสุขภาพอนามัย ปลอดสารพิษ  ทำให้เป็นที่นิยมกันทั่วไป ไม่ว่าจะทำอาหารประเภทลาบ ต้ม แกง อ่อม  ล้วนต้องใช้ผักพื้นเมืองเป็นส่วนประกอบทั้งสิ้น

สภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลาจัดให้มีการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์พืชผักพื้นบ้านเพื่อกระตุ้นให้เกิดการปลูกอย่างต่อเนื่อง  เพราะเล็งเห็นว่าการปลูกต่อเนื่องทุกปี  คือการอนุรักษ์ที่ยืนยาว  และมีการการติดตามผลการดำเนินงานหลังการแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์กันไปแล้ว   จนสมาชิกในชุมชนคนหนึ่งได้ต่อยอดความคิดได้ผลิตผักพื้นบ้านใส่ถุงเพื่อนำไปขาย  สร้างรายได้งามอีกทางหนึ่ง   และสมาชิกทุกคนภูมิใจและ มีความสุขที่ได้บริโภคพืชผักที่ตนเองปลูกที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ  ส่งผลให้สุขภาพดีทั้งกายและใจ