สภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลา ได้พัฒนาการแกนนำด้านการจัดการข้อมูลเพื่อการสื่อสารนั้น จนมีความสามารถพัฒนาฝีมือและถ่ายทอดความรู้ให้ผู้นำสภาองค์กรชุมชนตำบลอื่น ๆ ได้
ก่อตั้งเมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๑ เป็นสภาฯ ประชาชนที่รับฟังความคิดเห็น สะท้อนปัญหา และความต้องการจากประชาชนฐานล่างสุดของสังคม สู่การผลักดันนโยบายสาธารณะ
วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555
สภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลา ขยายผลการพัฒนาเว็บไซต์ตำบล
สภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลา ได้พัฒนาการแกนนำด้านการจัดการข้อมูลเพื่อการสื่อสารนั้น จนมีความสามารถพัฒนาฝีมือและถ่ายทอดความรู้ให้ผู้นำสภาองค์กรชุมชนตำบลอื่น ๆ ได้
วันพุธที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2555
สวัสดิการชุมชนตำบลดอนศิลา
จากกระบวนการเรียนรู้จากภายนอก และการวิเคราะห์จากภายใน พบว่า ทุกหมู่บ้านมีการออมทรัพย์ กลุ่มอาชีพทุกกลุ่มมีการออมทรัพย์ แต่ทุกกลุ่มล้วนออมเพื่อกู้ หรือเพื่อไปขอกู้จากสถาบันการเงินภายนอก
เมื่อเปรียบเทียมสมัยเรายังเด็ก มีเพียงกลุ่มออมทรัพย์ที่มีเป้าหมายสร้างทุนในชุมชน สร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนของคนจนคนเขียนหนังสือไม่เก่ง โดยมีขั้นตอนและกติกาไม่มากนัก ในสมัยนั้นใครเป็นหนี้ ถือว่าเป็นเรื่องน่าอาย ไม่กล้าเปิดเผย แต่พอรู้ว่าคนในชุมชนประมาณครึ่งหนึ่ง ไม่เป็นหนี้เลย
ต่อมาเข้าช่วงยุคกองทุนหมู่บ้าน (เงินล้าน) ก็สังเกตุเห็นพบว่า ทุกครอบเป็นหนี้ (ตามนโยบายรัฐที่หยิบยื่นให้) ในหมู่บ้าน ตำบลเรา มีกลุ่มกองทุนเต็มไปหมด แต่ทำไมเรายังยากจน เป็นหนี้ ไม่มีเงินออม ไม่ที่สวัสดิการที่เท่าเทียมกัน
นอกจากนี้กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลดอนศิลา ยังมีการเชื่อมโยงกลุ่มออมทรัพย์ที่มีอยู่เดิม กลุ่มการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดสวัสดิการทั้งที่เป็นตัวเงินและบนฐานทรัพยากรที่มีอยู่ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงานท้องถิ่น ให้ดีขึ้น ทั้งในเรื่องการลดภาระหนี้สิน ภาคครัวเรือนด้วย ไม่ใช่ก่อหนี้ หรือ สนับสนุนการหมุนเวียนหนี้ให้กับชาวบ้านเรื่อยไป มีเงินพอออม และช่วยเหลือกันยามจำเป็น
การดำเนินงานของกองทุนจึงมีการขยายแนวคิดแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่หวังปริมาณแต่เน้นความเข้าใจของทุกคนที่เข้ามาเป็นสมาชิกมากกว่า ประกอบกับการบริหารจัดการเงินทุนของกองทุนให้เติบโต โดยการนำเงินฝากธนาคารบางส่วน มาฝากที่กลุ่มออมทรัพย์ของหมู่บ้าน ทำให้มีเงินทุนหมุนเวียนในชุมชนอีกทางหนึ่ง และกองทุนก็ได้รับเงินปันผลจากเงินฝาก ร้อยละ ๘ บาทต่อปี ซึ่งนำมาหักลบกลบหนี้กับค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายสวัสดิการให้กับสมาชิกนั้น ยังคงมีเงินเหลืออีกจำนวนหนึ่ง ที่จะไม่ทำให้กองทุนต้องนำเงินออมที่มีอยู่ออกมาจ่ายเป็นสวัสดิการ ถือว่าเป็นการดำเนินงานอีกมิติหนึ่งที่ไม่สร้างภาระเพิ่มให้กับสมาชิกและกองทุน
อย่างไรก็ตามกองทุนสวัสดิการชุมชนท้องถิ่นตำบลดอนศิลา ยังคงต้องพัฒนาการดำเนินงาน แนวคิดในการจัดการสวัสดิการชุมชนต่อไป เพื่อให้สมาชิกได้ประโยชน์สูงสุด และหาแนวทางลดความเสี่ยงให้มากที่สุด พร้อม ๆ ไปกับการขยายสมาชิกให้เพิ่มขึ้นตามลำดับต่อไป
ผักพื้นบ้านอาหารพื้นเมือง การริเริ่มสู่การพึ่งตนเองของคนตำบลดอนศิลา
สมัยเด็กๆ จำได้คลับคล้ายคลับคลาว่าเคยกินผักพื้นบ้านนานาชนิด ที่ปลูกไว้ริมรั้ว ลานบ้าน สวนหลังบ้าน (คนเหนือเรียกว่า "สวนครัว") มีทั้งสะระแน กระเพราะ ตระไคร้ ผักกาด ผักชี ต้นหอม ผักชีฝรั่ง ถั่ว ดอกแค มะรุม เพกา พริกไทย ดีปรี ฯลฯ บางทีก็เก็บมาลวกกิน บางทีก็กิน
แต่เมื่อมีการปลูกพืชตามระบบเคมีทำให้ผักพื้นบ้านหลายชนิดหายไป
อย่างไรก็ตาม วิถีชุมชนในชนบท ก็ยังคงมีการปลูกผักสวนครัวไว้บริโภคกันอยู่ ถึงไม่มากนัก แต่ก็มีการพยามสืบทอด แลกเปลี่ยนเมล็ดพันธู์พื้นเมืองที่เหลืออยู่น้อยเต็มที ซึ่งชาวบ้านหลายคนไม่ชอบใจนักหากซื้อเมล็ดพันธุ์ของบริษัทเอกชนมาปลูกแล้ว ไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกต่อได้ เป็นการขัดต่อวิถีปฏิบัติที่สืบทอดกันมา
อาหารพื้นเมืองทางเหนือจะต้องมีส่วนปรุงรส หรือชูรสด้วยผักพื้นบ้านภาคเหนือ ซึ่งมีเอกลักษณ์
สภาองค์กรชุมชนตำบลดอนศิลาจัดให้มีการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์พืชผักพื้นบ้านเพื่อกระตุ้นให้เกิดการปลูกอย่างต่อเนื่อง เพราะเล็งเห็นว่าการปลูกต่อเนื่องทุกปี คือการอนุรักษ์ที่ยืนยาว และมีการการติดตามผลการดำเนินงานหลังการแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์กันไปแล้ว จนสมาชิกในชุมชนคนหนึ่งได้ต่อยอดความคิดได้ผลิตผักพื้นบ้านใส่ถุงเพื่อนำไปขาย สร้างรายได้งามอีกทางหนึ่ง และสมาชิกทุกคนภูมิใจและ มีความสุขที่ได้บริโภคพืชผักที่ตนเองปลูกที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ส่งผลให้สุขภาพดีทั้งกายและใจ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)