
จากประสบการณ์การบีิบคั้นทางเศรษฐกิจ จึงมีชาวบ้านบ้านสมานมิตรรวมตัวกัน ๘๐ ครอบครัว ที่ได้ร่วมกันปกป้องพื้นที่สาธารณะประโยชน์ ให้เป็นพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันจากกลุ่มนายทุนสำเร็จ ต่อมาจึงได้ยกระดับให้มีการใช้ประโยชน์ร่วมและให้มีการบริหารจัดการที่ดินโดยชุมชน ในรูปแบบ "โฉนดชุมชน" ตั้งแต่รัฐบาลชุดที่ผ่านมา โดยมีคณะทำงานของชุมชน ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ในการพัฒนาระบบข้อมูล พัฒนาแกนนำ พัฒนาพื้นที่การใช้ประโยชน์ร่วม "หน้าหมู่" โดยไม่ยอมให้กลุ่มนายเอกชน หรือปัจเจกชน เข้าไปใช้ประโยชน์เพียงลำพัง และพร้อมที่จะปกป้องรักษาที่ดินไว้ให้หลวงสืบไป
"โฉนดชุมชน" ดำเินินการโดยองค์กรชุมชน โดยขออนุญาติการใช้ประโยชน์จาก สำนักโฉนดชุมชน สำนักนายกรัฐมนตรี มีคณะกรรมการประสานงานว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน (ปจช.) เป็นผู้ลงพื้นที่สำรวจตรวจสอบ และเห็นควรให้ชุมชนใดที่มีความเข้มแข็ง และสามารถบริหารจัดการที่ดินโดยชุมชนได้ จะออกใบรับรองให้ ถึงแม้ว่าชุมชนใดจะผ่านการรับรองแล้ว แม่ไม่สามารถดูแลบริหารจัดการที่ดินได้และปล่อยให้ที่ดินทิ้งร้าง หรือไม่ปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดให้มีโฉนดชุมชน พ.ศ ๒๕๕๓ ได้ ก็จะมีการเพิกถอนสิทธิ์ต่อไป
ถึงแม้ว่ารัฐบาลชุดปัจจุบัน จะมีการบรรจุนโยบายของรัฐบาลนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตามความใน ข้อ 5. นโยบายที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และใน ข้อ5.1 อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า โดยเร่งให้มีการปลูกป่าเพิ่มขึ้นควบคู่ไปกรับการป้องกันการลักลอบบุกรุกทำลายป่าไม้และสัตว์ป่า เร่งสำรวจและจัดทำแนวเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน ส่งเสริมการบริหารจัดการป่าแบบกลุ่มป่า ป่าชุมชน อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า สนับสนุนการจัดการอย่างมีส่วนร่วม และให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันในลักษณะที่ทำให้คนมีภารกิจดูแลป่าให้มีความยั่งยืน โดยการปรับปรุงกฎหมายป่าไม้ 5 ฉบับให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ สร้างแรงจูงใจและส่งเสริมรายได้จากการอนุรักษ์ป่าไม้ ฟื้นฟูป่าไม้ตามแนวทางพระราชดำริ เพิ่มความชุ่มชื้นของป่าโดยฝายต้นน้ำลำธาร ป้องกันไฟป่า ส่งเสริมการอนุรักษ์ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพจากป่าและแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม รวมทั้งนำระบบสารสนเทศมาใช้ในการจัดการทรัพยากรป่าไม้ และ 5.4 สร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ โดยการปฏิรูปการจัดการที่ดินโดยให้มีการกระจายสิทธิที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน โดยใช้มาตรการทางภาษีและจัดตั้งธนาคารที่ดินให้แก่คนจนและเกษตรกรรายย่อย พิจารณาให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ที่ดินทิ้งร้างทางราชการ ปกป้องที่สาธารณประโยชน์ ที่ดินทุ่งเลี้ยงสัตว์ ห้ามการปิดกั้นชายหาดสาธารณะสาธารณะ ผลักดันกฎหมายในการรับรองสิทธิของชุมชนในการจัดการทรัพยากร ที่ดิน น้ำ ป่าไม้และทะเล ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งงแวดล้อม แก้ไขปัญหาการดำเนินคดีโลกร้อนกับคนจน แล้วก็ตาม ชุมชนคงยงยืนยันและพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินร่วมกับเกษตรกรไทยทั่วประเทศต่อไป